สภาพนักงาน (งานสภาพนักงาน กองกลาง)
Faculty Senate

สภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก สังข์แก้ว ประธานสภาพนักงาน พร้อมด้วย คณะกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเจ้าหน้าที่งานสภาพนักงาน กองกลาง ร่วมจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2564 เรื่อง “ยืดหยุ่นอุดมศึกษาไทย ในห้วงเวลาที่พลิกผัน" (Resilient Thai Higher Education in Time of Disruption) และการประกาศเกียรติคุณผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ โดยดำเนินการร่วมกับที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.), สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และสภาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแบบออนไลน์
ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานในพิธีเปิดฯ พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่องยืดหยุ่นอุดมศึกษาไทย ในห้วงเวลาที่พลิกผัน ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ อาจารย์มนชาย ภูวรกิจ ประธานที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน โดยในปีนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโล่รางวัลให้ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพื่อมอบให้อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2564 จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1.ศาสตราจารย์ ดร.วราวุฒิ ครูส่ง อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3.รองศาสตราจารย์ ดร.ตฤณ กิตติการอำพล อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ 4.ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขารับใช้สังคม

อีกทั้ง อดีตประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมบรรยายในหัวข้อ "ธรรมาภิบาลเชิงรุก สร้างความสุขในอุดมศึกษา" 

และมีกิจกรรมการประกวดผลงานทางวิชาการ การวิจัยด้านการเรียนการสอนสาขาต่าง ๆ การบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน และการนำไปใช้ประโยชน์แก่สังคม โดยมีกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานวิชาการ ดังนี้

- สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน เจริญตัณธนกุล  กรรมการตัดสินผลงานวิชาการ

- สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์ กรรมการตัดสินผลงานวิชาการ



ปรับปรุงข้อมูล : 19/11/2564 17:01:50     ที่มา : สภาพนักงาน (งานสภาพนักงาน กองกลาง)     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 254

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวด้านการศึกษา ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ขอเชิญร่วมกิจกรรม Dos & Don'ts “พฤติกรรมสีเทาของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้”
สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอเชิญตัวแทนผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ จากทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 กิจกรรม เรื่อง Dos & Don'ts “พฤติกรรมสีเทาของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้” โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566  เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ โรงแรมกรีนเลครีสอร์ท เชียงใหม่ โดย ให้ส่วนงานจัดส่งผู้เข้าร่วมทางงานสภาพนักงาน กองกลาง ตามหนังสือเชิญที่ได้จัดส่งไปเรียบร้อยแล้ว
25 พฤษภาคม 2566     |      32
ประธานสภาพนักงานเข้าร่วมพบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. ประธานสภาพนักงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก สังข์แก้ว ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ร่วมติดตามไปพร้อมกับคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย นำโดย ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าพบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย-สัญจร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรทั้งนี้ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บุคลากร ความว่า “ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน บุคลากรปฎิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และไม่ทิ้งความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตร” พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข โดยมีตัวแทนจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมเสนอความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไปในการนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้จัดนิทรรศการนำเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ของ 5 หลักสูตร ในรูปแบบของ BCG Model” โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร บริเวณฟาร์มประมงของสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์เกษตรสุขภาวะและโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดมหาชนอย่างไรก็ตาม ในการพบประบุคลากร ของนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ในการที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป ภาพ/ข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
24 พฤษภาคม 2566     |      32