สภาพนักงาน (งานสภาพนักงาน กองกลาง)
Faculty Senate

สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แจ้งสวัสดิการ 

บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ประสบอุทกภัย

สามารถรับสวัสดิการเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติ ได้ดังนี้

  1. งานสวัสดิการ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-5387-3131-8 
        http://personnel.mju.ac.th/edoc/rules/19406.pdf
  2. สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 053-878077 สายใน 2003-2005
        https://co-saving.mju.ac.th/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=206:2021-06-29-04-15-49&id=11:2011-09-22-03-51-46&Itemid=126

   3. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงใหม่ จำกัด หน่วยบริการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 053-873000 ต่อ 2000 สายใน 2000

ปรับปรุงข้อมูล : 4/10/2565 19:29:49     ที่มา : สภาพนักงาน (งานสภาพนักงาน กองกลาง)     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 227

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ขอเชิญร่วมกิจกรรม Dos & Don'ts “พฤติกรรมสีเทาของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้”
สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอเชิญตัวแทนผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ จากทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 กิจกรรม เรื่อง Dos & Don'ts “พฤติกรรมสีเทาของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้” โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566  เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ โรงแรมกรีนเลครีสอร์ท เชียงใหม่ โดย ให้ส่วนงานจัดส่งผู้เข้าร่วมทางงานสภาพนักงาน กองกลาง ตามหนังสือเชิญที่ได้จัดส่งไปเรียบร้อยแล้ว
25 พฤษภาคม 2566     |      31
ประธานสภาพนักงานเข้าร่วมพบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. ประธานสภาพนักงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก สังข์แก้ว ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ร่วมติดตามไปพร้อมกับคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย นำโดย ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าพบปะบุคลากรและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย-สัญจร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรทั้งนี้ ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวให้โอวาทแก่บุคลากร ความว่า “ผู้บริหารต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน บุคลากรปฎิบัติขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และไม่ทิ้งความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตร” พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไข โดยมีตัวแทนจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมเสนอความคิดเห็น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรต่อไปในการนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้จัดนิทรรศการนำเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ของ 5 หลักสูตร ในรูปแบบของ BCG Model” โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้งสองเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร บริเวณฟาร์มประมงของสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์เกษตรสุขภาวะและโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดมหาชนอย่างไรก็ตาม ในการพบประบุคลากร ของนายกสภามหาวิทยาลัยและคณะในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ในการที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ต่อไป ภาพ/ข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
24 พฤษภาคม 2566     |      32